การจัดวางในสาขา (สินค้า/สิ่งของ)

ความสำคัญของคลังสินค้า

เรื่องคลังสินค้า จะอยู่ในองค์ประกอบ 3 อย่าง สาขาอยู่ได้ด้วยตัวเอง เรื่องพื้นที่คลังสินค้า เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำเป็นอันดับต้นๆ ของสาขาที่มีพนักงานใหม่ๆ เนื่องจาก คลังคือหัวใจของการขาย ดังนั้นจะลำดับการทำงานได้ดังนี้

- การเติมสินค้า
- การจัดเรียงสินค้า
- การบริหารสต๊อกและระบบความสัมพันธ์ในการขายหน้าร้านและคลัง
- การติดตามงาน

  • การเติมสินค้า
ซึ่งการเติมสินค้ามีความสำคัญอย่างมากและมีผลต่อการขาย ถ้าเราเติมสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า จะสามารถเพิ่มยอดขายได้เป็นอย่างดีโดยอัตโนมัติ ตอนนี้เรามีโปรแกรม push ที่ใช้ช่วยในการเติมสินค้า โปรแกรม push มีประโยชน์อย่างไรเรามาดูกัน

1. ช่วยทำให้การสั่งเติมสินค้าของเราง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ทำให้การเติมสินค้าขายดีแม่นยำขึ้นและตรงกับความต้องการของลูกค้าของสาขา
3. ลดเวลาในการทำงานให้กับสาขาและทีมหลังบ้าน(ประสานงานขาย)สาขาจะได้มีเวลาไปทำงานอื่นได้มากขึ้น
ทั้งนี้การเติมสินค้าจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นไม่ใช่แค่ใช้โปรแกรม push อย่างเดียวเราควรจะต้องเดินคลังประกอบด้วย ทำไมต้องเดินคลังช่วย

**หมายเหตุ** การเดินคลังช่วยในการเติมสินค้า เนื่องจากในระบบ push จะให้เราเติมสินค้าที่มีการขาย ถ้าสาขาเติมสินค้าตาม push อย่างเดียวต่อเนื่องโดยไม่สนลายที่ขายได้เพียงครั้งเดียว(เฉพาะคลังที่มีขนาดใหญ่จำเป็น)สต๊อกของก็สาขาจะเต็มตลอด แต่ถ้าคิดว่านานๆขายได้แล้วสาขาไม่ได้เติม สินค้าตัวนั้นๆในระบบ push จะหายไปเองและจะทำให้ไม่มีการสั่งสินค้าตัวนั้นๆเข้ามา ดังนั้นจะทำให้เกิดสต๊อกลดลงไม่เพียงพอต่อการขาย ซึ่งมีผลทำให้เสียโอกาสในการขายในที่สุด มิฉะนั้นสาขาควรจะพยายามทำความเข้าใจและใส่ใจเกี่ยวกับการเติมสินค้าให้มากๆ
  • การจัดเรียงสินค้า 
ทำไม? การจัดเรียงสินค้าให้เป็นไปตามขนาด กลุ่มลวดลายและแยกประเภทของสินค้า เช่น โซนสินค้าปกติ สินค้ากรีนโซน สินค้า M&M ให้อยู่ในพื้นที่เป็นสัดสวนและรวมถึงการปรับหน้ากองให้เรียบร้อยอยู่ตลอดเวลาเพื่ออะไรมาดูกัน

1. การจัดเรียงสินค้าให้เป็นไปตามขนาด ตามกลุ่มลวดลาย เพื่อให้ง่ายต่อการทำงาน เช่น จะหยิบสินค้าให้ลูกค้า รู้ขนาดและลวดลายในบิลมาแล้ว พนักงานที่เพิ่งเข้ามาใหม่ๆ ก็สามารถรู้ได้ว่า สินค้าขนาด 60x60 อยู่ตรงไหน ลายไม้ ลายหิน อยู่ตรงไหน ไม่ต้องไปเดินหาให้เสียเวลา
2. การแยกโซนสินค้า เช่นสินค้ากรีนโซน สินค้า M&M เพื่อให้ทีมขายสะดวกในการพาลูกค้าที่มีความสนใจสินค้าราคาประหยัด ไปเดินเลือกได้ง่าย ไม่ต้องไปเดินหาหลายๆที่ให้เสียเวลา ช่วยทำให้ปิดการขายได้เร็วขึ้น
3. การปรับหน้ากองให้เรียบร้อยอยู่ตลอดเวลา ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากทำให้เราหยิบจับสินค้าได้ง่ายขึ้น มีความเรียบร้อยง่ายต่อการตรวจเช็คสต๊อกป้องกันการผิดพลาดในการนับสต็อก ซึ่งไปสู่ปัญหาสต๊อกดิฟ ที่สำคัญยังป้องกันยกสินค้าผิดเฉดและป้องการสินค้าแตกเสียหายได้อีกด้วย
ดังนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญในการจัดเรียงสินค้ามาเป็นอันดับต้นๆของเรื่องคลังเช่นกัน
  • การบริหารสต๊อกและระบบความสัมพันธ์ในการขายหน้าร้านและคลัง
ข้อนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากอีกข้อ เพราะถ้าเราหละหลวมในการบริหารสต๊อก จะมีผลกระทบกับสาขาในหลายๆอย่าง เช่น ทำให้เกิดสต๊อกดิฟ และที่มาของสต๊อกดิฟเกิดได้จากปัจจัยหลักๆดังนี้
1. กระเบื้องแตก เจอแล้วไม่ยอมแจ้งให้ทำการตัดแตกออกหรือจดไว้ดองไว้ไม่รีบเอามาตัดแตกออกสุดท้ายลีสท์ที่จดหายหรือลืม มานึกออกอีกครั้งตอนที่ผู้สอบเข้าก็สายไปแล้ว ส่งผลให้เกิดสต๊อกดิฟ ข้อนี้เป็นปัญหาอันดับที่1 ของปัญหาสต๊อกดิฟ เกิดจากความไม่ใส่ใจของสาขาและมีผลทำให้ต้องถูกหักตังค์ **วิธีการแก้ไขง่ายๆเพิ่มความใส่ใจมีระเบียบในการตัดแตกสินค้า เจอแตกควรปรับแตกทันที** บริษัทฯมีโควต้าให้ ใช้ให้เป็นประโยชน์
2. การยกสินค้าผิด ยกสลับ ข้อนี้ก็เป็นปัญหาอีกหนึ่งข้อ เกิดจากความไม่รอบครอบในการทำงาน ปิดการขายแล้วไม่รอบิล ใช้ความจำไปจัดของ ตรงนี้เป็นการทำงานที่ผิดวิธี ซึ่งมีโอกาสจะจำผิดได้สูง อีกกรณีนึงลูกค้าเปลี่ยนใจเปลี่ยนจำนวนหรือลวดลายตอนทำการชำระเงิน ตัวอย่าง ทีมขายปิดการขายเรียบร้อยส่งใบจดออเดอร์ให้แอดมิน ลูกค้าซื้อสินค้า 20 ก. รับกลับเอง แล้วพนักงานที่ปิดการขายรีบไปจัดสินค้าให้ลูกค้าเลยโดยที่ไม่รอบิล ลูกค้ามีการเปลี่ยนจำนวน เป็น 18 ก. พนักงานจัดของยกของให้ลูกค้า 20 ก. และไม่มีการทวนบิลกับลูกค้า เครสแบบนี้หายแน่ๆทันที 2 ก. และถ้ายังไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน ก็จะทำให้สต๊อกดิฟมากขึ้นเรื่อยๆ **วิธีแก้ไขง่ายๆ รอบิลทุกครั้งก่อนไปจัดของ อ่านลวดลายข้างกองทุกครั้งก่อนหยิบสินค้าแต่ละรายการ หลังจากขึ้นของเสร็จแล้วให้ทวนบิลกับลูกค้าทุกครั้งเพื่อรีเช็คความถูกต้อง** เท่านี้เราก็สามารถป้องกันปัญหาสต๊อกดิฟจากข้อนี้ได้
3. การเดินบิล เพื่อทบทวนสต๊อกที่เราขายไปในแต่ละวัน ตรงนี้เป็นการรีเช็คความผิดพลาด โดยใช้เวลาไม่นาน ใช้เวลาช่วงเย็นประมาณหลัง 16.00 น.หรือเวลาที่ว่าง แบ่งหน้าที่ช่วยกันไปทำ วิธีการง่ายๆ ปริ้นรายการขายในวัน ไปเดินนับสต๊อกคงเหลือปัจุบัน เราก็จะรู้แล้วว่าสินค้าที่เหลือตรงหรือไม่ ยกผิดหรือเปล่า ซึ่งจะสามารถรู้ปัญหาและนำมาแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที
4. ควรจะมีการรีเช็คสุ่มนับสต๊อกทั้งขนาด หมุนเวียนกันไปเรื่อยๆ ทุกอาทิตย์หรือตามความเหมาะสม ตัวอย่าง วันอาทิตย์นี้ทำการเช็คสินค้าขนาด 40x40 ให้ปริ้นส์สต๊อกขนาด 40x40 ทั้งหมด แบ่งให้ทีมคลังช่วยกันนับ อาทิตย์ต่อไปอาจจะสุ่มนับขนาด 60x60 และขนาดอื่นหมุนเวียนไป วิธีนี้จะช่วยให้เราสามารถรู้ความผิดปกติของสต๊อกในสาขาได้เป็นอย่างดี รวมถึงการแบ่งหน้าที่การเช็คอุปกรณ์หมุนเวียนกันไป

ทั้งหมดนี้มีความสัมพันธ์กันหมดทั้งระบบการขายหน้าร้านและการบริหารสต๊อก ถ้าสาขาสามารถปฏิบัติได้ตามนี้ เพิ่มความใส่ใจ มีระเบียบวินัยในการดูแลสต๊อก รับรองได้ว่าปัญหาสต๊อกดิฟจะหมดไปและรายได้ของเราก็จะไม่หายไปไหนแน่นอน ทำงานเหนื่อยแล้วก็ต้องรักษารายได้ของตัวเองไว้ให้ดีด้วย
  • การติดตามงาน
หลังจากที่ผจก.มอบหมายงานต่างๆให้กับพนักงานทุกคนแล้ว การติดตามงานถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด เป็นการสอบถามกับพนักงาน การรีเช็คผลงานและความเรียบร้อยในงานที่เราได้มอบหมายให้ ว่าติดปัญหาอะไรบ้าง ซึ่งจะทำให้เราทราบปัญหาต่างๆจากการทำงาน แล้วนำปัญหาต่างๆมาแก้ไขให้การทำงานง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วยยกตัวอย่างเช่น

1. มอบหมายให้แอดมินเติมสินค้า ผจก.จะสามารถติดตามงานได้โดยการ ให้แอดมินแคปหน้าจอรายการที่สั่งสินค้า จากโปรแกรมDwa มาไว้ในกลุ่มไลน์สาขา โดยประโยชน์ที่จะได้รับจากการตรวจสอบการสั่งสินค้าเติมแล้ว ทีมคลังยังสามารถทราบอีกด้วยว่ามีการสั่งสินค้าตัวไหนเข้ามาบ้าง ซึ่งทีมคลังจะได้ทำการเตรียมพื้นที่ในการเก็บสินค้าลายดังกล่าวไว้รอได้อีกด้วย
2. มอบหมายให้ทีมคลังจัดคลัง ยุบ รวบ ปรับหน้ากอง การติดตามงานเบื้องต้นคือการให้พนักงานถ่ายรูป พื้นที่บริเวณที่มอบหมายงานให้เพื่อส่งงาน และสอบถามปัญหาในการทำงานหากดูแล้วไม่เรียบร้อย จะต้องไปเดินดูในคลังเพื่อตรวจข้อบกพร่องแล้วเอามาแก้ไข ในการทำงานให้ง่ายและมีประสิทธิภาพ เสร็จได้ตามระยะเวลาที่กำหนด

ดังนั้นการติดตามงานที่ดี สำคัญอยู่ที่การสร้างคน สร้างงานให้อยู่ในระเบียบ ทำงานเป็นระบบ รวมถึงการพัฒนาความสามารถ เพื่อเพิ่มศักยภาพของพนักงานให้เติบโตและก้าวหน้ายิ่งขึ้น
การเก็บเชือกดำหรือสายรัดกระเบื้องคืนโรงงาน

โดยปกติทุกสาขาเราจะกำหนดจุดแขวนเชือกดำกันไว้อยู่แล้ว ควรแขวนไว้ด้านข้างสาขา หรือด้านหลังสาขา ไม่โยนกองหมกไว้ เมื่อพนักงานทำความสะอาดหน้ากองหรือมีการยกกระเบื้อง พนักงานต้องเก็บและรวบรวมเชือกดำที่สภาพดี แล้วนำมาแขวนในจุดรอส่งกลับ เมื่อได้จำนวนเยอะแล้วเราจะมัด (ตามรูป) ฝากรถโรงงานกลับมาใช้งานต่อ ในส่วนเชือกสีเขียวโรงงานไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ให้สาขาทิ้งหรือสามารถขายของเก่าได้ โดยทั่วไปจะมัดรวมกัน มัดละ 50 เส้น

 

 

การเก็บคลังสินค้า, รถยนต์สาขาและอุปกรณ์ต่างๆ
1. ห้ามวางสินค้านอกชายคา ต้องเก็บเข้าคลังให้เรียบร้อย
2. รถยนต์สาขาและรถฟอร์คลิฟท์ ทำความสะอาด/ตรวจสอบสภาพ พร้อมเก็บเข้าคลังในจุดที่ปลอดภัยหรือหน้ากล้องวงจรปิด และเก็บกุญแจไว้ในตู้เซฟทั้งหมด
3. รถเข็นและแฮนด์ลิฟทุกตัว จัดวางเรียงไว้จุดเดียวกันให้เรียบร้อย
4. ตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำประปาภายในสาขาทั้งหมด ก๊อก/วาล์วน้ำปิดให้สนิท โดยเฉพาะตามห้องพักที่ไม่มีคนอยู่
5. ตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในสาขาทั้งหมด ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า/ปิดสวิทซ์ไฟในห้องพัก และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์/อื่นๆ ภายในออฟฟิศ ยกเว้น ปลั๊กกล้องวงจรปิด
6. ไฟในคลังเปิดเฉพาะที่จำเป็น โดยเฉพาะบริเวณหน้ากล้องวงจรปิด
7. ปิด/ล็อคกุญแจ ประตูรั้วสาขาทางเข้า-ออก, ประตูสำนักงาน/โชว์รูม และห้องพัก ให้เรียบร้อย
8. เคลียร์เก็บถังขยะตามจุดต่างๆ มาวางไว้หน้าสาขาหรือจุดที่รถขยะมาเก็บ
สินค้าเลิกผลิตอยู่ใน Clearance zone ทั้งหมด บางกองอาจจะปนกัน A C ทำอย่างไร
วิธีแก้ไข
  • ถ้าเป็นเศษ กองรวมกัน ปรับสต็อคเป็น C ไม่ต้องเสียเวลาแยกกอง
  • ถ้าเป็นพาเลท จัดแถวแยก A C นำราคามาแปะให้ชัดเจน
  • เตรียมรับมือลูกค้า ถ้าลูกค้าดูราคาที่กอง กับในเครื่องไม่ตรงกัน ถ้าคุยไม่ได้ ขออนุมัติลดราคามาเลย
** ถ้าหากสภาพกล่อง เลิกผลิตเกรด A ดูแล้วไม่สมราคา หรือมีปริมาณน้อย เป็นแผ่น เป็นเศษ ขอปรับเป็น เกรด C หรือ m&m โดยถ่ายรูป มีจำนวน แจ้งความประสงค์ ได้เลย  **
จุดจอดรถของพนักงานสาขา
เพื่อความชัดเจน เรื่องจุดจอดรถของพนักงาน (มอเตอร์ไซค์-รถยนต์) เราจะกำหนดจุดจอดรถให้สาขาได้มีพื้นที่จอดรถที่ถูกต้องและปลอดภัยโดยเราจะคำนึกถึง
  • พื้นที่ด้านหน้าโชว์รูมต้องมองเห็นชัดเจน โล่ง ทางเดินลูกค้าสะดวก ไม่มี รถพนักงานจอดบังทางเดิน เข้าบริเวณโชว์รูมหรือบริเวณทางเข้าแผงโชว์
  • พื้นที่ลงสินค้าและช่องทางเดินพาเลทในคลัง ไม่จอดขวางในพื้นที่ที่อาจเกิดความเสี่ยงในการทำงาน
แบ่งประเภทเป็น
  • คลังขนาดเล็ก จะมีโค้วต้าพนักงานอยู่ 7-8 คน
  • คลังขนาดกลาง - ขนาดใหญ่ จะมีโค้วต้าพนักงานอยู่ 9-15 คน  
สาขาต้องใช้พื้นที่การทำช่องจอดรถมอเตอร์ไซค์ กว้าง 1 x ยาว 2 เมตร ต่อรถ 1 คัน พื้นที่ช่องจอดรถยนต์ กว้าง 2.5 x ยาว 5 เมตร ต่อรถ 1 คัน

โดยจะกำหนดจุดจอดรถจะอยู่ (ตรงข้ามกับโชว์รูม)
  • กำหนดสาขาคลังเล็ก มีพื้นที่จอดรถยนต์ 1 คัน รถมอเตอร์ไซค์ 7 คัน
  • กำหนดสาขาคลังกลาง ถึงคลังใหญ่ ให้มีพื้นที่จอดรถยนต์ 2-3 คัน รถมอเตอร์ไซค์ 10 คัน
  • บางสาขาพื้นที่หน้ากว้างไม่พอ รถยนต์สามารถจอดที่จอดรถลูกค้าได้ รถมอเตอร์ไซค์จอดซ้อนคันได้
ในกรณีคลังไม่เป็นตามลักษณะที่จะต้องจอดตรงข้ามกับโชว์รูมได้
  • คลังขนาดกลาง หรือ คลังขนาดเล็ก มีพื้นที่ด้านหน้าแคบ และมีโคว์ต้าพนักงานงานเกิน 8 คนขึ้นไป บางสาขามีพื้นที่ด้านข้างอาคารหรือใต้ป้ายไฮเวย์ สามารถทำเป็นพื้นที่จอดได้ให้กำหนดจุดนั้นเป็นที่จอด

บางสาขามีพื้นที่จอดบริเวณหน้าห้องพักภายในหลังอาคาร สามารถทำเป็นพื้นที่จอดได้ให้กำหนดจุดนั้นเป็นที่จอด

  • คลังขนาดใหญ่ ส่วนมากจะเป็นคลังที่สร้างใหม่มีพื้นที่คลังที่ในตัวอาคารว่างเยอะ ให้กำหนดพื้นที่นั่นเป็นที่จอด แต่ต้องไม่ทับซ้อนกับพื้นที่เช่าและพื้นที่คลังนะครับถ้าไม่มั่นใจแจ้งให้ภาคกลุ่มพิจารณา


ในกรณีมีพนักงานเข้าพักที่สาขา หลังเวลาเลิกงานแล้ว รถยนต์ให้เข้ามาจอดในตัวอาคารได้ถ้ามีพื้นที่หรือบริเวณหน้ากล้อง รถมอเตอร์ไซค์ให้เข้ามาจอดในตัวอาคารหน้าห้องพักได้ แต่เมื่อถึงเวลาทำงาน รถต้องไปจอดในจุดจอดรถพนักงานตามปกติ

ทำไมกระเบื้องควรเก็บไว้ในที่ร่ม
หากพลิกหลังกระเบื้องดูทุกแผ่น จะเห็นว่ามีผงขาวๆ คล้ายๆปูนอยู่ ผงนั้นส่วนประกอบหลักคือ "แมกนีเซียม" เราจำเป็นต้องใช้แมกนีเซียมในการรองใต้กระเบื้องเพื่อป้องกันไม่ให้ดินไปติดกับตัว roller ที่ใช้ลำเลียงกระเบื้องในเตา ด้วยความที่แมกนีเซียมมีจุดเดือดอยู่ที่ 1,450 องศา ซึ่งมากกว่าการเผากระเบื้องของเรา มันจึงไม่สลายตัวและยังคงอยู่ทำหน้าที่ป้องกันดินไปติด roller 

** ถ้าเรานำกระเบื้องไปตากฝน และเมื่อแห้งตัว แร่ธาตุและสารเคมีอื่นๆจะมาจับตัวกับผงแมกนีเซียมนี้และอาจจะยึดเกาะติดกับผิวหน้าของกระเบื้องอีกแผ่น คล้ายๆกับหินปูนได้ **

  • วิธีการป้องกัน ที่ผมย้ำอยู่เสมอสำหรับสาขาคือเราควรเก็บกระเบื้องไว้ในที่ร่ม ป้องกันไม่ให้โดนฝน และโดยเฉพาะการส่งกระเบื้องเข้าโครงการในปริมาณมากๆ ที่ยังไม่ได้ใช้งานทันที ต้องเก็บไว้ในที่ร่มเช่นเดียวกับพวกปูน
  • วิธีการแก้ไข หากเกิดการจับตัว ให้ใช้น้ำยาขจัดคราบ เช่น เป็ดขัดออก
การบริหารพื้นที่คลัง ทำไมถึงสำคัญ
สาขาเคยเจอปัญหาเหล่านี้ไหม ประสบปัญหาเศษเฉดเยอะ ปริมาณไม่พอขาย สั่งมาใหม่ก็เป็นเศษอีกบ้าง ลวดลายใหม่ก็ลงไม่ได้ คิดแบบไหน ทำอย่างไรดี? 

ทุกท่านรู้หรือไม่ว่าในการก่อสร้างพื้นที่คลังของสาขาเรา ต้องสร้างให้มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้มากกว่า 3 ตัน เพราะฉะนั้น ค่าก่อสร้างคลังของเราจะอยู่ประมาณ 8,000 บาท ต่อตารางเมตร (สมัยก่อน 3,000 บาท/ตรม แต่ไม่แข็งแรง ทรุด พังแทบทุกที่) ไม่รวมค่าเช่า หรือค่าที่ดิน

ถ้าคิดกลับเป็นต้นทุนก็คือค่าเสื่อมของพื้นที่นั้นๆ ค่าเสื่อมของอาคารคิดที่ 20 ปี หรือ ตามสัญญาเช่า ถ้าเราคิดเต็มที่คือ 20 ปี หรือ 240 เดือน เท่ากับเรามีต้นทุนตารางเมตรละ 8,000/240 = 33.33 บาท/ตรม แปลว่า ทุกๆเดือน เราต้องจ่าย 30 บาทต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร

ใน 1 ตารางเมตร เราวางพาเลทได้ 1 พาเลทพอดี ถ้าคิดเป็นต่อกล่อง จะอยู่ที่ 0.30 บาทกว่าๆแล้วแต่ขนาด แปลว่าทุกๆเดือนที่กระเบื้องเราตั้งบนพาเลทเฉยๆ จะมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น คิดง่ายๆ 50 สตางค์ ต่อกล่อง ถ้าอยู่กับเราซักปีนึง ต้นทุนเค้าก็เพิ่มขึ้น 6 บาท แปลว่ากำไรเราหายไป 6 บาท จากการตั้งเฉยๆของกระเบื้องกล่องนั้น

ถ้าเคลียร์ครั้งเดียวในปริมาณมากๆ 95% ของสาขาจะเกิดสต็อคดิฟตามมา เพราะการปรับ ไม่จัด, จัด ไม่ปรับ ทำให้ขายราคาผิด หรือ หยิบผิดเป็นประจำ ถ้าหากค่อยๆเคลียร์ ทีละกอง ทีละขนาด ในจำนวนที่มีที่วางใน Clearance Zone งานจะไม่เยอะ ไม่เหนื่อย ควบคุมได้ ไม่กระทบกำไร  และลงลายใหม่ที่มีโอกาสขายมากกว่าลายที่ขายไม่ได้อีกด้วย
การเตรียมความพร้อมคลังสำหรับหน้าฝน

ในช่วงหน้าฝน สาขาควรดูแลพื้นที่บริเวณหน้าบ้านอย่างดี ตั้งแต่ทางเข้าจนถึงที่จอดรถของลูกค้า เพื่อให้พื้นที่บริการสะอาดและสะดวกต่อการใช้งาน กระเบื้องที่ส่งมาจากโรงงานต้องถูกจัดเก็บเข้าล็อกทันทีโดยทีมคลัง เพื่อป้องกันการเปียกฝน รวมถึงไม้พาเลทที่เตรียมส่งกลับโรงงานต้องจัดเก็บในที่แห้ง ไม่ให้โดนฝนเช่นกัน

แนวทางการดูแลพื้นที่สาขาช่วงหน้าฝน สาขาควรดำเนินการตามข้อแนะนำดังนี้
  • พื้นที่บริการและลานจอดรถ ดูแลทางเข้าจนถึงลานจอดรถให้สะอาดและเป็นระเบียบ เพื่อความสะดวกของลูกค้าที่มาใช้บริการ สามารถจอดรถหน้าโชว์รูมได้สะดวก
  • เตรียมร่มให้พร้อม พนักงานขายควรเตรียมร่มไว้เพื่อออกไปรับลูกค้าในวันที่ฝนตก
  • กระเบื้องที่ส่งมาจากโรงงาน ต้องเก็บเข้าคลังภายในวัน ห้ามเปียกฝนโดยเด็ดขาด
  • การจัดการน้ำขัง เมื่อฝนหยุดพนักงานควรกวาดน้ำขังบริเวณหน้าอาคารและลานจอดรถออก เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
  • การระบายน้ำ ตรวจสอบและทำความสะอาดทางระบายน้ำทั้งด้านหน้าและด้านข้างของสาขา เช่น เคลียร์เศษดิน หิน ทราย และวัชพืชที่อาจขวางทางน้ำไหล
  • รางน้ำและหลังคา ตรวจสอบรางน้ำรอบอาคารและชายคา ระหว่างฝนตกให้สังเกตว่าน้ำไหลสะดวกหรือไม่ รางน้ำไม่รั่ว หากพบความเสียหายให้แจ้งฝ่ายพัฒนาธุรกิจเพื่อแก้ไข
  •  หลังคาสาขารั่ว น้ำหยดใส่สินค้า ให้ถ่ายรูปแจ้งฝ่ายพัฒนาธุรกิจทันทีพร้อมดึงสินค้าหลบจากจุดรั่ว หากจุดรั่วมีหลายแห่งให้ใช้ป้ายไวนิลคลุมสินค้าไว้ชั่วคราว
  • การดูแลระบบไฟฟ้า ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ปลั๊กไฟ และสายไฟให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ปลั๊กต้องเสียบแน่น ไม่หลวม และไม่มีฝนสาดหรือน้ำรั่วใส่
วิธีการจัดเรียงอุปกรณ์
การจัดเรียงอุปกรณ์ต่างๆ 
  • พื้นที่โชว์รูม เราจะมีชั้นโชว์อุปกรณ์ต่างๆ จะกำหนดให้
    - อุปกรณ์ ยาแนว คิ้ว PVC จมูก วางโชว์แค่อย่างละ 10

  • พื้นที่ห้องเก็บอุปกรณ์ เราจะแยกยี่ห้อคล้ายกับการเรียงที่ชั้นโชว์
      - การวางคิ้วแบบมีชั้นวางและแบบพื้น ให้วางเรียงแบบทับกันเป็นชั้นขึ้นไปให้สวยงาม
    - การวางจมูกบันไดก็เช่นกัน
    - การวางกล่องลังยาแนว เราจะแยกยี้ห้อ มีกระดาษแปะชื่อบอกสีไว้ให้เด่นชัด พนักงานคลังไม่วางทับกันสูงเกิน 5 ลัง และเมื่อมีลังยาแนวใหม่มาให้นำลังยาแนวเก่านำขึ้นมาเทินของใหม่ก่อนทุกครั้ง และจัดเรียงถุงให้สวยงามนับง่าย  (hand pointing down)
จุดวางตำแหน่ง ตามจุดต่างๆ ของสาขาที่

9 ตำแหน่งวางที่ถูกต้องและเหมาะสม

  • จุดวางสินค้ารอส่ง ทีมคลัง+ทีมส่งเมื่อได้รับบิลส่งสินค้าแล้วให้จัดเตรียมรายการสินค้าในบิลทั้งหมด แล้วนำไปวางในจุดรอเตรียมส่ง พร้อมแปะบิลให้เรียบร้อย


  • จุดจอดรถพนักงาน เมื่อพนักงานทุกคนเข้างานต้องนำรถมาจอดตรงจุดกำหนดจอดให้เป็นระเบียบไม่ขวางการทำงาน


 

  • จุดวางถังขยะ สาขาต้องมีจุดวางบริเวณด้านหน้า กลางคลัง และท้ายคลังตามความเหมาะสมของสาขาแต่พนักงานทุกคนต้องทราบและไม่แกะกะในการทำงานใช้เสร้จแล้วเก็บที่เดิม
  • จุดแขวนเชือกดำรอมัดส่งกลับโรงงาน เมื่อทีมคลังเก็บเชือกล้มหน้ากองให้รวบรวมเชือกดำที่สภาพดีมาแขวนใส่ไว้เพือรอมัดและเตรียมส่งกลับโรงงาน

 

  • จุดวางไม้พาเลทเตรียมส่งกลับโรงงาน เมื่อคลังรวบ เทินกระเบื้องแล้วไม้พาเลทป่าวสภาพดีพร้อมใช้งาน นำมาวางเรียงในจุดวาง (ไม่ตากฝน) รอเตรียมส่งกลับไปโรงงาน


 

  • ห้องน้ำสาขา ต้องสะอาด ถูกสุขลักษณะ มีเวรททำความสะอาดและอุปกรณ์พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

 


  • ห้องครัว เป็นห้องส่วนรวมที่ใช้รับประทานอาหาร ช่วยกันรักษาความสะอาดอยู่เสมอ

 

 

  • บริเวณหน้าห้องพักพนักงาน ต้องสะอาดและเป็นระเบียบ



  • ห้องยาแนว/คิ้ว จัดเรียงสวยงาม เป็นระเบียบ คลังเมื่อมีสินค้ามาเติมจากโรงงานให้นำเข้ามาเก็บทันที

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy